ประวัติความเป็นมาและวันสำคัญ
พิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันพยาบาลแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๗ วันจันทร์ที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ วันที่ 21 ตุลาคม 2567 เนื่องในวันพยาบาลแห่งชาติเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ได้ทรงอุทิศพระองค์ปฏิบัติพระราชภารกิจ เพื่อพัฒนาสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชน และทรงมีพระเมตตาต่อวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์อย่างหาที่สุดมิได้ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ นายกสภาการพยาบาล วางพานพุ่มถวายราชสักการะ พร้อมคณะกรรมการสภาการพยาบาล และผู้บริหารสำนักงาน สภาการพยาบาล รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา บุญทอง เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนีฯ วางพานพุ่มถวายราชสักการะ พร้อมคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลฯ ศาสตราจารย์ ดร.ศิริอร สินธุ นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ วางพานพุ่มถวายราชสักการะ พร้อมคณะกรรมการอำนวยการฯ นางอัมราภัสร์ อรรถชัยวัจน์ผู้อำนวยการกองการพยาบาล นางสาวอุไรพร จันทะอุ่มเม้า. รองผู้อำนวยการกองการพยาบาล ผู้บริหารกองการพยาบาลพร้อมคณะ วางพานพุ่มถวายราชสักการะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง ที่ปรึกษารัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการ เลขานุการรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง ผู้ช่วยปลัดกระทรวง อธิบดีกรมการแพทย์ และข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข […]
วันที่ 6 พฤษภาคม 2567 สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จัดพิธีทำบุญครบรอบวันสถาปนาครบรอบ 97 ปี เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่ผู้มีพระคุณของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ การทำบุญวันนี้ได้รับความเมตตาจากพระปัญญาวชิราภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และคณะสงฆ์ที่มาให้พรเป็นศิริมงคลในครั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ศิริอร สินธุ นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ ได้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย และ รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา บุญทอง ถวายพวงมาลัยแด่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประวัติการก่อตั้ง สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ ถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยดำริของพลตรีพระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในขณะนั้น ท่านได้พิจารณาเห็นความสำคัญของการมีสมาคมพยาบาลขึ้นในประเทศ จึงได้เชิญพยาบาลชั้นหัวหน้าจากโรงพยาบาลศิริราช และสภากาชาดไทย ประชุมหารือที่บ้านของท่านเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2469 ผู้เข้าประชุมที่เป็นพยาบาล 7 คน ซึ่งมีความเห็นร่วมกันที่จะจัดตั้งสมาคมพยาบาล ขึ้นในประเทศ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ในขณะนั้นสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ มีชื่อเมื่อแรกก่อตั้งว่า “สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม” ซึ่งบ่งบอกว่าในขณะนั้นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศมีเฉพาะสตรีเท่านั้น […]
เปิดพระประวัติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระมารดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ มีพระนามเดิมว่า “หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร” ประสูติเมื่อวันเสาร์ 13 กรกฎาคม 2500 ณ โรงพยาบาลกายส์ เขตเซาท์วาร์ก กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นธิดาพระองค์ใหญ่ของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร พระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง กับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร พระนาม “โสมสวลี” หมายความว่า “น้ำผึ้งพระจันทร์” เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระชนม์ชีพในวัยเยาว์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เข้าศึกษาในระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา รุ่นที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2504 รุ่นเดียวกับสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี แต่เมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่ ในปี […]
พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2521 ณ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพระนามเดิมว่า สุทิดา ติดใจ ครอบครัวของพระองค์เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ทรงเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จากนั้นจึงทรงเข้าศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2543 เริ่มเข้ารับราชการ ตำแหน่ง “พลเอกหญิง” ต่อมาทรงเข้ารับราชการทหารในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุด เป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ) ทั้งยังทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์เวรในพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ การปฏิบัติหน้าที่ในราชการทหาร ย้อนกลับไปในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557 สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ (ในเวลานั้นคือพลเอกหญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์) ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในพิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพล วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 […]
พระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพระมหาเศวตฉัตร เครื่องราชูปโภค ฉลองสิริราชสมบัติเนื่องในวันคล้ายวันบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชวงศ์จักรี วันฉัตรมงคล ถูกกำหนดวันขึ้นตาม วันบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีนี้ขึ้นใน วันที่ 4-6 พ.ค.2562 ดังนั้นวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน จึงตรงกับวันที่ 4 พ.ค.ของทุกปี ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการพระราชพิธีดังกล่าว เนื่องจากพระองค์และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จะเสด็จพระราชดำเนิน ทรงร่วมงานพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ในวันที่ 6 พ.ค.2566 นี้ ประวัติ “วันฉัตรมงคล” พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยปรากฏหลักฐานในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่พระราชพิธีฉัตรมงคล เริ่มมีครั้งแรกในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 ตามธรรมเนียมเดิม ในเดือน 6 (ตรงกับเดือน พ.ค.) เจ้าพนักงานทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ที่มีหน้าที่รักษาเครื่องราชูปโภคและพระราชนิเวศน์ จะทำพิธีสมโภชเป็นการภายใน โดยฝ่ายในจะตั้งเครื่องสังเวย เครื่องประโคม และร้อยดอกไม้ประดับบูชา ส่วนฝ่ายหน้าจะจัดพิธีสวดมนต์เลี้ยงพระ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว […]
ประวัติความเป็นมา วันสงกรานต์ หรือ วันมหาสงกรานต์ เป็นวันที่ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลโฮลีของประเทศอินเดีย แต่วันสงกรานต์ของไทยเปลี่ยนจากการสาดสี เป็นการสาดน้ำใส่กัน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่ร้อนจัดในช่วงเดือนเมษายน และในอีกแง่หนึ่งยังมีความเชื่อว่าเป็นการปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไป ทำให้นิยมเล่นสาดน้ำ และประแป้งกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยจะไม่ถือโทษโกรธกัน คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต ที่มีความหมายว่า “การเคลื่อนย้าย” โดยเชื่อว่าในวันสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาการเคลื่อนย้ายของจักรราศี อีกนัยหนึ่งก็คือการเคลื่อนสู่ปีใหม่ ทำให้คนไทยยึดถือวันสงกรานต์เป็น “วันขึ้นปีใหม่ไทย” มาตั้งแต่สมัยโบราณ จนกระทั่ง พ.ศ. 2483 ก่อนจะปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามแบบแผนสากลนิยม ซึ่งก็คือวันที่ 1 มกราคมของทุกปี ทั้งนี้ การละเล่นสงกรานต์ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา ลาว รวมถึงบางพื้นที่ของเวียดนาม จีน ศรีลังกา และอินเดีย เรื่องเล่า “ตำนานนางสงกรานต์” สำหรับประวัติวันสงกรานต์ หรือกำเนิดวันสงกรานต์ มักมีเรื่องเล่าที่เชื่อมโยงถึง “ตำนานนางสงกรานต์” โดยอ้างอิงตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ ตำนานเล่าว่า มีเศรษฐีฐานะร่ำรวยคนหนึ่ง ไม่มีบุตร จึงไปบวงสรวงขอบุตรกับพระอาทิตย์ และพระจันทร์ แต่รอหลายปีก็ไม่มีบุตรสักที จนกระทั่งถึงฤดูร้อนปีหนึ่ง […]
ประวัติความเป็นมาของ วันจักรี วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของไทย นั่นคือ วันจักรี ซึ่งเป็นวันที่เราจะร่วมกันระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รวมถึงมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันจักรี ภาษาอังกฤษคือ Chakri Memorial Day ตรงกับวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือพระรามาธิบดีที่ 1 เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ดังนั้นในวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี จึงนับเป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรี นอกจากจะเป็นวันแห่งการก่อตั้งราชวงศ์จักรีแล้ว ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ยังเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของไทยอีกด้วย จึงนับเป็นวันครบรอบกรุงเทพมหานคร ซึ่งในปัจจุบัน (พ.ศ. 2561) กรุงเทพมหานครมีอายุครบ 236 ปี ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ […]